Home > Medias & Articles > ความปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ด้วย Blockchain

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ด้วย Blockchain

Blockchain เป็นอีกคำที่หลายคนได้ยินกันหนาหูในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งโดยรวมแล้ว Blockchain นั้นคือเทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่งที่โดดเด่นเรื่องความปลอดภัย ทำให้ Blockchain เป็นที่นิยมมากในระบบการเงินยุคดิจิทัล แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถนำ Blockchain ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย รวมถึงในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยเช่นกัน

ความปลอดภัยของ Blockchain เกิดขึ้นได้ด้วยการดำเนินการแบบไม่ใช้ตัวกลาง กล่าวคือ ไม่ว่าเราจะกระทำการใด ๆ บนระบบ ข้อมูลการกระทำของเราจะถูกจัดเก็บลงบน ‘บล็อก’ ที่ระบบสร้างขึ้น บล็อกนั้นจะเชื่อมต่อกันเป็นห่วงโซ่ และส่งไปจัดเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่าย ถ้ามีใครพยายามจะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงก็ต้องทำบนคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ซึ่งมีจำนวนมหาศาล

ในโลกของความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นเราก็สามารถนำ Blockchain มาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลายดังต่อไปนี้

เพิ่มความปลอดภัยให้อุปกรณ์ IoT

อุปกรณ์ IoT เช่น เครื่องใช้สำนักงาน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเชื่อมต่อกันและทำงานร่วมกันผ่านการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์เหล่านี้เป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ เนื่องจากปัจจุบันมักเป็นการควบคุมแบบรวมศูนย์ ทำให้เมื่อแฮกแค่อุปกรณ์ชิ้นเดียวก็สามารถเข้าถึงได้ทั้งหมด ระบบ Blockchain จะกระจายการควบคุมไปที่อุปกรณ์เครื่องอื่น ๆ ทำให้แต่ละอุปกรณ์มีระบบป้องกันภัยเป็นของตัวเอง และมีการควบคุมแยกกัน ทำให้ทุกอุปกรณ์ไม่สามารถถูกแฮกได้โดยง่าย

ป้องกันการโจมตีเครือข่าย DNS

การโจมตีผ่านระบบ DNS เป็นเป้าหมายยอดนิยมของบรรดาอาชญากรไซเบอร์ โดย Domain Name System (DNS) คือระบบที่นำทางเราไปสู่เว็บไซต์ที่ต้องการ เมื่อเราพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ในเว็บบราวเซอร์ DNS จะทำหน้าที่เปลี่ยนชื่อนั้นเป็น IP Address แล้วนำเราไปสู่เว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่ง DNS แบบดั้งเดิมนั้นเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีการควบคุมแบบรวมศูนย์ ที่มีการส่งข้อมูลเว็บไซต์ไปที่ศูนย์กลางการควบคุมเพียงจุดเดียว ทำให้หากแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงระบบนั้นได้ ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางและนำเราไปยังเว็บไซต์ปลอมที่ต้องการ เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวหรือแม้กระทั่งเงินได้ ระบบนี้ยังมีการเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ ซึ่งทำให้อาจเกิดปัญหาเรื่องข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ การใช้ Blockchain กับระบบ DNS จะมาช่วยแก้ไขปัญหานี้ และทำให้มีการกระจายอำนาจการเก็บข้อมูลให้ไปอยู่บนระบบ Blockchain ที่ทำงานแบบ Peer-to-peer ที่มีคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายคอยสอดส่องการกระทำที่ผิดสังเกตตามเอกลักษณ์ของระบบ Blockchain

ด้วยคุณสมบัติและรูปแบบการทำงานของ Blockchain ที่ทำให้การปฏิบัติการและจัดเก็บข้อมูลไม่ได้ขึ้นอยู่แค่ตัวกลางคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถร่วมกันตรวจสอบและตรวจเช็คได้ ทำให้ Blockchain อาจเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ในบทความถัดไป เราจะมานำเสนอเรื่องของความปลอดภัยของเทคโนโลยี Blockchain ที่ทำให้ตัวมันได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในปัจจุบัน

ปกป้ององค์กรของท่านจากการโจมตีทางไซเบอร์
ติดต่อเรา Cloudsec Asia
ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำของเอเชียแปซิฟิก
Tel.+66 2117 9668
www.cloudsecasia.com


#cybersecurity
#cybersecurityisamust
#cloudsecasia

References:

Legrand, J., 2020. The Future Use Cases of Blockchain for Cybersecurity. [online] Cyber Management Alliance. Available at <https://www.cm-alliance.com/…/the-future-use-cases-of…> [Accessed 30 September 2021]

Rodeck, D. and Schmidt, J., 2021. What Is Blockchain?
]. [online] Forbes Advisor. Available at <https://www.forbes.com/advisor/investing/what-is-blockchain/> [Accessed 30 September 2021]

Software Testing Help., 2021. Top 13 BEST Blockchain DNS Software [UPDATED LIST]. [online] Software Testing Help. Available at <https://www.softwaretestinghelp.com/best-blockchain-dns…/> [Accessed 30 September 2021]