Cyber Warfare สงครามไซเบอร์กับ Malware อาวุธสงครามยุคใหม่ของโลก

ทุกวันนี้ “สงคราม” ไม่ได้มาในรูปแบบของการสู้รบด้วยกำลังทหารแค่ทางบก เรือ อากาศ หรือสงครามจิตวิทยา อย่างสงครามเย็นเท่านั้น เพราะมีสงครามชนิดใหม่ที่เรียกว่า ‘สงครามไซเบอร์’ (Cyber Warfare) ที่เน้นโจมตีทางไซเบอร์เป็นหลัก ซึ่งลักษณะของสงครามไซเบอร์นั้นจะเน้นการโจมตีในระดับที่สร้างความเสียหายไปวงกว้าง แม้จะขึ้นชื่อว่า “สงครามทางไซเบอร์” แต่บางครั้งก็นำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้เช่นกัน
ในอดีต แม้จะมีการโจมตีทางไซเบอร์ระหว่างคู่สงครามที่อาจนับว่าเป็นสงครามไซเบอร์ได้หลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่มีการประกาศการก่อสงครามทางไซเบอร์อย่างเป็นทางการ รวมถึงยังไม่มีการก่อสงครามไซเบอร์ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต แต่การปฏิบัติการ Cyber Warfare ที่มีการใช้ Malware ทำลายเครือข่ายหรือโครงสร้างพื้นฐานทางไซเบอร์ของฝั่งตรงข้าม การโจมตีแบบ DDos เพื่อรบกวนระบบทำงานให้ผิดปกติ การโจรกรรมข้อมูล การสอดแนม รวมถึงการปล่อยโฆษณาชวนเชื่อหรือข่าวปลอม (Fake News) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ล้วนทำให้เกิดผลเสียเป็นวงกว้าง โดยผลกระทบจากการโจมตีลักษณะนี้ สามารถขัดขวางการปฏิบัติงาน ทำลายคู่สงครามให้อ่อนกำลังลง รวมถึงทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบได้ เช่นเดียวกับสงครามชนิดอื่น
ล่าสุด หน่วยสืบราชการลับของอังกฤษและอเมริกาได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลของ Malware ประเภท Botnet ที่มีชื่อว่า Cyclops Blink ซึ่งตรวจสอบพบว่ามีการพัฒนาและได้รับการสนับสนุน โดยกลุ่มแฮกเกอร์รัสเซียที่มี ชื่อว่า Sandworm และจากการมีการตรวจพบในเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา Malware ประเภท Botnet สามารถแฝงตัวเข้าไปอยู่ในอุปกรณ์ ผ่านการที่ผู้ใช้ถูกหลอกให้คลิกลิงก์ปลอม ซึ่งตัว Malware ดังกล่าวมีความสามารถเข้าถึง และดาวน์โหลดข้อมูลในอุปกรณ์นั้นๆได้ รวมถึงสามารถรับคำสั่งให้อัพเกรดตัวเองแบบทางไกล จึงทำให้หนีการตรวจจับได้เสมอ
Cyclops Blink เป็น Malware ที่เน้นโจมตีอุปกรณ์เครือข่าย อาทิ เราท์เตอร์ Wi-Fi ของออฟฟิศขนาดเล็ก หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล NAS (Network-attached storage) ที่มักจะใช้ในสำนักงาน ซึ่ง Cyclops Blink จะเน้นสุ่มโจมตีเป็นวงกว้าง นอกจากนี้กลุ่มแฮกเกอร์ Sandworm ยังเป็นกลุ่มที่ขึ้นชื่อว่าเน้นโจมตีองค์กรในประเทศยูเครนเป็นหลัก และเป็นกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีกลุ่มบริษัทพลังงานครั้งใหญ่ในยูเครนที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ในปี 2015 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ในยูเครนเองก็เคยถูกโจมตีแบบ DDos ในปี 2014 ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตล่ม การปฏิบัติการต่างๆหยุดชะงัก และทำให้ฝ่ายสนับสนุนรัสเซียสามารถเข้าควบคุมสาธารณรัฐไครเมียได้
ซึ่งเรื่องราวของ Malware นี้ เปิดเผยขึ้นเมื่อรัสเซียตัดสินใจเข้าปฏิบัติการทางทหารในยูเครน นี่จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของ Cyber Warfare ที่ควรได้รับการเฝ้าระวังอีกทางหนึ่ง ในยามสงครามเช่นนี้
ปกป้ององค์กรของท่านจากการโจมตีทางไซเบอร์
ติดต่อเรา Cloudsec Asia
ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำของเอเชียแปซิฟิก
Tel.+66 2117 9668
www.cloudsecasia.com
#cybersecurity
#cybersecurityisamust
#cloudsecasia
References:
Lakshmana, R., 2022. U.S., U.K. Agencies Warn of New Russian Botnet Built from Hacked Firewall Devices. [online] The Hacker News. Available at <https://thehackernews.com/…/us-uk-agencies-warn-of-new…> [Accessed 25 February 2022]
Hanna K. et al., 2022. cyberwarfare. [online] Tech Target. Available at <https://www.techtarget.com/search…/definition/cyberwarfare‘> [Accessed 25 February 2022]