Home > Medias & Articles > Work From Home อย่างไรให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

Work From Home อย่างไรให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

จนถึงขณะนี้ยังไม่มีวี่แววว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะชะลอตัวลง แม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวให้เข้ากับการ Work From Home ได้แล้ว แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงมาสู่การทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งหมดนั้นสวนทางกับการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แทบไม่ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นเลยจากการที่ยังไม่ตระหนักรู้ถึงภัยทางไซเบอร์ และขาดการเตรียมตัวที่เหมาะสมสำหรับการ Work From Home เต็มรูปแบบ

หลายองค์กรต่างรายงานความพยายามในการแฮกข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงโรคระบาดครั้งใหญ่นี้ ตามข้อมูลของ FBI ระบุว่ามีจำนวนการร้องเรียนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มากถึง 4,000 เคสต่อวัน โดยมีสาเหตุมาจากการที่บรรดาอาชญากรไซเบอร์มองว่าช่วงเวลาวิกฤตเหล่านี้เป็นนาทีทองในการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่บนอุปกรณ์ของพนักงานที่ต้องทำงานจากระยะไกล เนื่องจากอุปกรณ์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่มีมาตรการป้องกันความปลอดภัยต่ำเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่ใช้ภายในองค์กร

ด้วยเหตุนี้ Cloudsec Asia จึงขอเสนอ 5 แนวทางทำงานแบบ WFH ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดังนี้

1. ใช้งานโปรแกรม Antivirus
ติดตั้งโปรแกรม Antivirus หรือ Antimalware และทำการอัพเดตโปรแกรมเป็นประจำ เพื่อเป็นการเสริมการป้องกันอีกหนึ่งชั้น สามารถติดตั้งไฟร์วอลล์ส่วนบุคคล (Personal Firewall) อาทิ Comodo Firewall ที่มีให้บริการฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2. ตั้งค่า Wi-Fi ที่บ้านให้ปลอดภัย
แนะนำให้ตรวจเช็คการตั้งค่าเครือข่าย Wi-Fi ที่บ้านให้ปลอดภัย พร้อมทั้งคอยอัปเดตเวอร์ชันของ Router ให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อป้องกันการถูกแอบใช้งานหรือการโจมตีจากผู้ไม่หวังดี และที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน Wi-Fi สาธารณะสำหรับการทำงาน

3. เปิด VPN เมื่อต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การใช้งาน VPN จะช่วยเข้ารหัสข้อมูลที่ถูกรับ-ส่งผ่านอินเทอร์เน็ต และช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ส่งผลให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถป้องกันการถูกดักฟังหรือแอบขโมยข้อมูลผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ VPN หลากหลายเจ้า และหลากหลายราคาให้เลือกใช้งานได้ตามความสะดวก

4. ตั้งรหัสผ่านให้แข็งแรง
ตั้งรหัสผ่านของบัญชีที่ใช้ในการทำงานและบัญชีออนไลน์อื่น ๆ ให้มีความยาวที่เหมาะสม และควรประกอบไปด้วยตัวเลข สัญลักษณ์ และตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็กกับพิมพ์ใหญ่ผสมกัน นอกจากนี้ยังควรเปลี่ยนรหัสผ่านทุก 6-12 เดือน และไม่ควรใช้รหัสผ่านซ้ำกัน หรืออาจใช้งานโปรแกรม Password Manager เพื่อความสะดวกในการจัดการรหัสผ่านสำหรับหลายบัญชีพร้อมกัน

5. ศึกษาเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์
ในยุคที่อาชญากรไซเบอร์อยู่ห่างจากเราเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส การศึกษาเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์และวิธีการรับมือถือเป็นมาตรการป้องกันที่สำคัญในการหยุดยั้งการโจมตีทางไซเบอร์ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้วิธีการส่ง/รับอีเมลแบบเข้ารหัสซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถป้องกันการโดนโจรกรรมข้อมูลได้อย่างยอดเยี่ยม รวมไปถึงการทำความเข้าใจลักษณะของอีเมลฟิชชิง (Phishing) และการรู้จักตรวจสอบความถูกต้องที่อยู่อีเมลของผู้ส่งก็สามารถช่วยบรรเทาการโจมตีแบบฟิชชิงได้

สรุป
จากสถานการณ์ล่าสุดของวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ไม่มีวี่แววว่าจะจบลง องค์กรจึงควรมีการพัฒนาแนวทางการทำงานให้มีความรัดกุมปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อาทิ การส่งอีเมลแบบเข้ารหัส, การใช้งานซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย หรือการวางแผนรับมือกรณีเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและปกป้ององค์กรขั้นสูงสุด องค์กรควรมีการหารือเพื่อจัดทำแนวทางการตอบโต้กับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเชิงรุกเพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตีในอนาคต

ปกป้ององค์กรของท่านจากการโจมตีทางไซเบอร์
ติดต่อเรา Cloudsec Asia
ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำของเอเชียแปซิฟิก
Tel.+66 2117 9668
www.cloudsecasia.com


#cybersecurity
#cybersecurityisamust
#cloudsecasia