5 การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ภัยร้ายที่ใกล้ตัว

การโจมตีทางไซเบอร์

ปัจจุบันเป็นยุคทีมีการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) เพิ่มขึ้นอย่างมาก


ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน การทำธุรกรรมออนไลน์ การใช้โซเชียลมีเดีย และการทำงานจากที่บ้าน ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์ (cyber attack) มากขึ้น

ข้อมูลจาก Kaspersky Lab ระบุว่า ในปี 2022 มีการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกมากกว่า 650 ล้านครั้ง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

นั่นอาจทำให้หลายๆ คนเกิดความหวาดระแวง และไม่มั่นใจในการรักษาข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่อาจโดนกลุ่มคนที่ไม่หวังดีเข้ามาหลอกเอาข้อมูลสำคัญเหล่านั้นไปขายให้กับบุคคลอื่น หรือในเคสที่แย่กว่านั้นคือถูกฝัง มัลแวร์ ต่างๆ สู่อุปกรณ์ของคุณ และสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นได้ ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กร ไปจนถึงหน่วยงานระดับประเทศ

เมื่อประเมินจากตัวเลขที่น่าตกใจข้างต้น ลองคิดดูว่าหากเราตัดสินใจผิดพลาด หรือมีความหละหลวมในการใช้งานโลกออนไลน์แม้เพียงนิด อาจสร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล นอกจากจะเสียทรัพย์แล้ว ก็ยังสร้างความเสียหายในด้านชื่อเสียง รวมไปถึงความเชื่อมั่นทั้งต่อตนเอง และองค์กรอีกด้วย

5 การโจมตีทางไซเบอร์

5 การโจมตีทางไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้โจมตี รูปแบบการโจมตีที่พบบ่อย ได้แก่

  • มัลแวร์ (Malware) เป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายซึ่งออกแบบมาเพื่อทำลายหรือควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของ malware ได้แก่ ไวรัส เวิร์ม โทรจัน และมัลแวร์เรียกค่าไถ่
  • แรนซัมแวร์ (Ransomware) เป็นมัลแวร์ชนิดหนึ่ง ที่ผู้โจมตีจะเข้ารหัสข้อมูลของเหยื่อไว้ และเรียกค่าไถ่เพื่อแลกกับการคืนค่าข้อมูล
  • ฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นกลอุบายหลอกลวงให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ตัวอย่างของ phishing ได้แก่ อีเมลปลอม ข้อความหลอกลวงผ่าน messenger หรือเว็บไซต์ปลอม
  • การดักข้อมูลกลางทาง (Man-in-the-middle attack) เป็นรูปแบบการโจมตีที่แฮกเกอร์แทรกตัวอยู่ระหว่างเหยื่อและเป้าหมาย โดยแฮกเกอร์จะดักข้อมูลระหว่างการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเหยื่อและเป้าหมาย
  • การโจมตีเพื่อทำให้ระบบล่ม (Distributed denial-of-service (DDoS) attack) เป็นรูปแบบการโจมตีที่อาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากในการโจมตีเป้าหมายพร้อม ๆ กัน

แม้การโจมตีทางไซเบอร์จะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่เราสามารถลดความเสี่ยงจากการโจมตีได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางการรับมือต่อไปนี้

4 วิธีรับมือ การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack)

  1. อัปเดทระบบปฏิบัติการและซอร์ฟแวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

    การอัปเดตซอฟแวร์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งมักจะมีการแก้บัค (Bug) และปิดช่องโหว่ (vulnerability) ที่มีการพบเจอทำให้ผู้ใช้งานสามารถหลีกเลี่ยงการโจมตีที่เกิดจากช่องโหว่สากล ที่มีวิธีการโจมตีที่แพร่หลายได้
  2. ใช้งานซอร์ฟแวร์ระบบตรวจสอบ และจัดการไวรัส

    เรื่องนี้อาจดูเป็นเรื่องพื้นฐานเนื่องจากมักเป็นโปรแกรมที่มีติดมากับตัวเครื่องอยู่แล้ว แต่ก็ยังต้องพิจารณาเลือกใช้โปรแกรมที่ถูกลิขสิทธิ์และมีการอัปเดตให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเป็นประจำ จะทำให้โปรแกรมช่วยดูแลความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เลือกไช้การยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน (multi factor authentication)

    การตั้งรหัสผ่านที่ดีควรจะมีความยาวมาก ๆ และไม่ซ้ำกับรหัสผ่านที่ใช้ในระบบอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคกับการใช้งานได้ ดังนั้นทางที่ดี แนะนำให้มีการตั้งค่าการยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (2 Factors Authentication) เพื่อช่วยยกระดับความปลอดภัยในการใช้งาน และเข้าถึงออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ
  4. หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์แนบจากแหล่งที่ไม่รู้จัก หรือไม่น่าเชื่อถือ

    ในทุกครั้งที่มีการติดต่อจากรายชื่อที่ไม่รู้จัก ไม่ควรกดลิ้งก์ หรือทำตามโฆษณาชวนเชื่อก่อนได้รับการตรวจสอบถึงที่มาให้แน่ชัด เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์อาจแฝงเข้ามาจากพฤติกรรมเหล่านี้

แนวทางการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ในระดับองค์กร

  1. กำหนดนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ชัดเจน
  2. ลงทุนในเทคโนโลยีและบุคคลากรด้านความปลอดภัยไซเบอร์
  3. ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์
  4. ดำเนินการติดตามและตรวจสอบระบบเครือข่ายและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ
  5. มีแผนรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ (cyber attack) ที่ชัดเจน

การรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งระดับบุคคล องค์กร หรือแม้กระทั่งภาครัฐ เพื่อที่จะป้องกันและลดความเสียหายได้อย่างดีที่สุด และหากคุณเป็นมือใหม่ในการดูแลและจัดการกับการโจมตีทางไซเบอร์ การหาผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์เข้ามาดูแลก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ

Cloudsec Asia สามารถช่วยรับรองความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรของคุณด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมการคุ้มครอง และป้องกันความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ให้กับโครงสร้างพื้นฐาน แอปพลิเคชัน เครื่อข่ายคลาวด์คอมพิวติง และอื่นๆ ได้ตลอดเวลา